
โคลีนคืออะไร และสำคัญต่อพัฒนาการสมองของลูกอย่างไร
ถ้าพูดกันถึงเรื่องอาหารกับพัฒนาการของลูก ถั่วเหลืองน่าจะเป็นหนึ่งในอาหารมากคุณประโยชน์ที่คุณแม่หลายคนนึกถึง เพราะถั่วเหลืองมีโปรตีนที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่รู้หรือไม่ในถั่วเหลืองยังมีสารอาหารสำคัญอีกอย่างที่คุณแม่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้จัก ซึ่งเรียกว่าโคลีน คือ สารอาหารในฟอสฟาติดิลโคลีน ที่จำเป็นมากต่อพัฒนาการสมองของเด็กวัยกำลังโต วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่าโคลีน โคลีน คืออะไร และสำคัญต่อพัฒนาการสมองของลูก อย่างไรบ้าง
โคลีนในฟอสฟิติดิลโคลีน สารอาหารสำคัญจากธรรมชาติที่สมองต้องมี
โคลีนในฟอสฟาติดิลโคลีน เป็นโคลีนที่มีอยู่ในถั่วเหลืองโดยธรรมชาติ มีความสำคัญต่อพัฒนาการเรียนรู้ของลูกไม่น้อย เพราะถ้าลูกได้รับโคลีนที่เพียงพอก็จะส่งผลดีต่อพัฒนาการสมอง การเรียนรู้ สติปัญญา และสมาธิ เนื่องมาจากโคลีนเป็นสารสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาท(อะเซทิลโคลีน) เมื่อลูกเรามีสารสื่อประสาทมาก ก็จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ การใช้ความคิดความอ่านและความจำ รวมถึงยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างผนังเซลล์อีกด้วย
ตามปกติแล้วร่างกายของลูกสามารถสร้างโคลีนได้เองที่ตับ แต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อพัฒนาการที่ดีเท่าที่ควร เราจึงควรให้ลูกได้ทานอาหารเพื่อเสริมโคลีนในฟอสฟาติดิลโคลีน อย่างเช่น นมถั่วเหลือง เพราะในนมถั่วเหลืองมีสารฟอสฟาติดิลโคลีนอยู่สูง (สารประกอบของเลซิติน) ซึ่งร่างกายต้องการเพื่อนำไปสังเคราะห์เป็นโคลีน อย่างในไวตามิ้ลค์แชมป์นมถั่วเหลืองที่ผลิตจากถั่วเหลืองคุณภาพก็มีปริมาณโคลีนในฟอสฟาติดิลโคลีนจากธรรมชาติอยู่ด้วย
เด็กทุกช่วงวัยควรได้รับโคลีนในฟอสฟาติดิลโคลีน
เพราะสมองของเด็กเริ่มพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่อยู่ในท้องแม่และจะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจนอายุประมาณ 6 ขวบ โดยช่วงอายุ 1-2 ขวบ จะมีพัฒนาการด้านขนาดสมองมากที่สุด หลังจากนั้นจะเป็นการพัฒนาด้านสติปัญญา ความจำ และการรับรู้ ส่วนช่วงวัย 6 ขวบขึ้นไปสมองก็ยังคงมีการพัฒนาการด้านสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง โคลีนในฟอสฟาติดิลโคลีนจึงเป็นสารอาหารสำคัญที่ลูกควรได้รับเป็นประจำ เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมองในทุกช่วงของพัฒนาการ
ควรให้ลูกได้รับปริมาณโคลีนเท่าไรถึงจะดี
- สำหรับเด็กอายุ 0-6 เดือน 125 มิลลิกรัม
- สำหรับเด็กอายุ 7-12 เดือน 150 มิลลิกรัม
- สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี 200 มิลลิกรัม
- สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี 250 มิลลิกรัม
- สำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี 375 มิลลิกรัม
*เป็นปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน
ได้รับโคลีนในฟอสฟาติดิลโคลีนไม่เพียงพอ ลูกอาจเรียนรู้ช้า
ถ้าลูกได้รับโคลีนไม่เพียงพอตั้งแต่ช่วงวัยแรกๆ การพัฒนาการของสมองอาจไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เรียนรู้ช้า ความจำไม่ดี หรือขาดสมาธิ ดังนั้นการเสริมอาหารที่มีโคลีนในฟอสฟาติดิลโคลีนเป็นส่วนประกอบอย่างไวตามิ้ลค์แชมป์ ร่วมกับโภชนาการที่ดีจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรเตรียมไว้ให้พร้อมสำหรับลูกน้อย
อ้างอิง
- ฟอสฟาติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) สารอาหารที่สำคัญสำหรับเด็ก โดย รศ.ดร. ปรียา ลีฬหกุล กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ไฟล์ข้อมูลดิบลูกค้า)
- กินอาหารอย่างไรจึงจะบำรุงสมอง จาก วารสารศูนย์บริการวิชาการ https://home.kku.ac.th/uac/journal/year_15_1-2_2550/04_15_1_2550.pdf
- โคลีน http://haamor.com/th/โคลีน